Last updated: 9 ก.ย. 2566 | 1484 จำนวนผู้เข้าชม |
อย. คือหน่วยงานอะไร อย. ย่อมาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ควบคุมดูแลสินค้าอาหาร เครื่องสำอาง ยา วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดกระทรวงสาธารณสุข ตามหลักเกณฑ์สินค้าผลิตหรือนำเข้าสินค้านั้นๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าต่างๆในตลาดได้อย่างมั่นใจ อย่างไรก็ตามการมีเครื่องหมาย อย. ไม่ได้หมายความว่าเป็นการรับประกันสินค้าแต่แสดงให้เห็นว่าสินค้ามีการขึ้นทะเบียนผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่ควบคุมดูแล การได้เลขสารบบอาหาร (เลข อย.)เพื่อการยืนยันผ่านการตรวจสอบ ซึ่งบทความนี้จะขอกล่าวในเรื่องการขออนุญาตผลิตและนำเข้าอาหาร (ขออนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ)
ทำไมจึงต้องขอเลข อย.
ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผลิตสินค้าหรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ สินค้าที่ขายในประเทศไทย จำเป็นต้องมีการขออนุญาตสถานที่ผลิตหรือนำเข้าให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ก่อน การขออนุญาตจะเริ่มจากการตรวจสอบสถานที่ผลิตหรือนำเข้านั้นให้ผ่านตามหลักเกณฑ์ จากนั้นจึงขอขึ้นทะเบียนตัวสินค้า ซึ่งแต่ละประเภทสินค้าก็จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ระยะเวลาการขออนุญาตก็แตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงของสินค้านั้นๆ โดยสินค้าอาหาร ถูกแบ่งเป็นกลุ่ม4ใหญ่(อ้างอิงตาม พรบ.อาหาร พ.ศ.2522) ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหารทั่วไป สินค้าใดที่มีความเสี่ยงสูงก็จะมีการควบคุมที่เข้มงวด โดยคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นสำคัญ
เมื่อสินค้าออกจำหน่ายสู่ตลาดจะมีหน่วยงานที่เรียกว่ากลุ่มกำกับดูแลสินค้าหลังออกสู่ตลาด (Post Marketing)คอยควบคุมดูแลสินค้าหลังได้เลข อย.(เลขสารบบอาหาร) หรือสินค้าที่ได้วางขายในตลาดแล้ว หากสินค้าใดเมื่อได้เลขสารบบอาหารแล้วแต่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือมีผู้ร้องเรียน เช่น แสดงฉลากสินค้าไม่ถูกต้องก็จะมีโทษปรับสูงสุดถึง 30,000 บ. (อ้างอิง พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 หมวด 8 บทกำหนดโทษ มาตรา 51) กรณีสินค้าใดเข้าข่ายความผิดขั้นร้ายแรงก็อาจโดนโทษเพิกถอนใบอนุญาต (ยกเลิกเลขสารบบ)หรือถึงขั้นโทษจำคุกเลยทีเดียว
แล้วผู้ประกอบการกลุ่มใดบ้างที่ไม่เข้าข่ายต้องขออนุญาตบ้าง ได้แก่ ร้านอาหาร ร้านค้าที่ทำหรือผลิตสินค้าขายให้ลูกค้าโดยตรง ซึ่งไม่ได้นำไปฝากขายในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้า พูดง่ายก็คือ การขายสินค้าที่ผู้ขาย ขายให้กับผู้ซื้อโดยตรง ผู้ซื้อรู้ว่าใครเป็นคนขายสินค้านั้น
ดังนั้นผู้ประกอบการควรศึกษาและปฏิบัติตามข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด รวมถึงควรมีจรรยาบรรณในการทำธุรกิจผลิตและนำเข้า
หากผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจท่านใด มีคำถามหรือข้อข้องใจหรือสงสัยในในตีความข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอาหารและเครื่องสำอางสามารถแอดไลน์ปรึกษาเบื้องต้นกับเราฟรี
Line ID: ap3236 สายด่วน 091-2221996 หรือ คลิก www.apenterligance.com
ที่มา : ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
1 ก.ย. 2565